วันอังคารที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2554

โปรแกรม Stellarium


Stellarium 0.8.2 สำหรับระบบปฏิบัติการ Linux, MacOS X และ Windows

-Freeware ใช้ได้ทั้ง Windows Linux MacOS- 

 หากคุณเป็นคนหนึ่งที่อยากรู้ สนใจอะไรเกี่ยวกับ ดวงดาวบนท้องฟ้า ยามค่ำคืน หรืออะไรอื่นๆที่เกี่ยวข้อง อาทิเช่น ดาวที่เห็นในช่วงนี้ มันคือดาวอะไร ไกลจากโลกแค่ไหน กลุ่มดาวนี้มีรูปร่างอย่างไร ทำไมถึงจินตนาการเป็นสิ่งนั้น อีก ซีกโลกหนึ่ง ท้องฟ้าตอนกลางคืนเป็นอย่างไร เห็นดาวเหมือนกันไหม และ อะไรอื่นๆ อีกมากมาย หรืออย่างน้อยอยากติด เครื่องคอมไว้ทำเท่



สำหรับ Windows >> ดาวน์โหลด
สำหรับ Linux, MacOS X >> ดาวน์โหลด

หากคุณ Download และติดตั้งแล้ว ต่อไปด้านล้างนี้ จะเป็นการแนะนำ วิธีตั้งค่า และรายละเอียดเล็กน้อย ในการใช้งานเบื้องต้น



เมื่อ เปิด โปรแกรมนี้ขึ้นมา จะพบว่าหน้าตาเป็นแบบนี้้  เข้าไปตั้งค่า ที่ Configuration Window ก่อนเลย
Video เพื่อปรับ ความละเอียดของmonitorในการแสดงผล (แนะนำให้ปรับอีกครั้ง แทนค่าปริยาย) ปรับเสร็จกด Save default (ในส่วนนี้ ต้องเปิดโปรแกรมอีกครั้งถึงจะเห็นผล) 



ถัดมา ปรับ สถานที่ สังเกตการณ์ ง่ายๆก็คือ บ้านคุณนั่นแหละ เลือกสถานที่ ที่ใกล้เคียง ถ้าหากรู้พิกัดแน่นอน เช่นดูจาก googleearth ก็ปรับแต่งlat/longได้ อีกทั้ง ปรับ ความสูงของพื้นที่ด้วย ใน Altitude ถ้าใครชอบดูท้องฟ้าบน ดาดฟ้าบนตึกแล้วละก็ ปรับ สักหน่อยก็ดีนะครับ เสร็จแล้ว ก็ Save Location ใส่ชื่อที่ คุณต้องการก็เรียบร้อย

ที่เหลือจะเป็นการปรับแต่งส่วนอื่นๆ ที่ไม่สำคัญเท่าไรนัก(ลองปรับดูเองนะจ๊ะ)

ต่อไป ให้สังเกตในรูปที่2  ที่แสดงหน้าตาของโปรแกรม นี้  
อธิบายหน้าตา คร่าวๆ ของ โปรแกรม
ด้านบนสุดจะมีแถบ สถานะอยู่ จากซ้ายไปขวา มีดังนี้  

วันที่    เวลา   โปรแกรม รุ่นที่ สถานที่สังเกตการณ์ ที่ระดับความสูงจาก ระดับน้ำทะเลกี่เมตร FOV = Field of view คือพื้นที่การมองเห็น  หมายถึงพื้นที่หรือขนาดของภาพที่เห็น(ค่าปกติ คือ 60องศา)  สุดท้ายคือ FPS (frame per second) ภาพต่อวินาที เป็นตัวบอกความสามารถในการแสดงผลของคอมฯในโปรแกรมนี้ ถ้าเกิน 20 ภาพจะดูลื่นไหล 


หากเราใช้ mouse Click ที่ดาวนั้น จะปรากฎรายละเอียดขึ้นมา ด้าน มุมบนซ้ายของจอ ซึ่งอธิบายได้ดังนี้ (เรียงจาก บนลงมา)

1. ชื่อดาว(ชื่อสากล) ในรูปคือ ดาว fomalhout ข้างหลังในวงเล็บ คือ ชื่อเรียก ในระบบBayer ด้านหลังเป็นชื่อย่อกลุ่มดาว

2. Magnitude คือ โชติมาตรา เป็นความสว่างของดวงดาว มีค่าน้อยยิ่งสว่าง ยิ่งติดลบยิ่งสว่างมาก

3. RA/DE มาจาก Right Ascension และ Declination คือ  
ระบบพิกัดที่ใช้ในการบอกตำแหน่งบนทรงกลมท้องฟ้าชนิดหนึ่ง ใช้เส้นศูนย์สูตรฟ้าเป็นเส้นอ้างอิงหลัก  

4. Az/Alt มาจาก อะซิมุท (Azimuth) คือ มุม จากการวัดมุมในแนวราบของวัตถุท้องฟ้า เริ่มที่ทิศเหนือ 0 องศาไปทางทิศตะวันออก  ทิศใต้  ทิศตะวันตก และกลับมาที่ทิศเหนืออีกครั้ง 1 รอบมีค่าเท่ากับ 360 องศา   และ อัลติจูด (Altitude)หรือ มุมเงย เป็นมุมที่วัดจากเส้นขอบฟ้า คือ 0 องศา ขี้นไปจนถึงจุดเหนือศีรษะ (Zenith) คือ 90 องศา  ดังนั้น Az/Alt เป็นการบอกพิกัดตำแหน่งบนท้องฟ้าอย่างหนึ่ง

5. Distance ระยะห่าง คือ ระยะทางจากวัตถุ(ดาว)ถึงโลก มีหน่วย บอก 3 อย่าง ตามความเหมาะสมในโปรแกรมนี้ ได้แก่  
5.1. Astronomical Unit (AU) หรือ หน่วยดาราศาสตร์ คือ ค่าเฉลี่ยของระยะห่างจากโลกถึงดวงอาทิตย์ มีค่า ประมาณ 150ล้านกิโลเมตร(1.49598 X 10ยกกำลัง8 กม.)

5.2 Light year หรือปีแสง ฟังดูเหมือนหน่วยวัดเวลา แต่แท้จริงคือ หน่วยวัดระยะทาง ซึ่งมาจากการเทียบว่า 1ปีแสงจะเดินทางได้ระยะทางเท่าใด ค่าที่ได้คือ 9.5 ล้านล้านกิโลเมตร(9.46073 X 10ยกกำลัง12 กม.)

5.3 Parsec หรือ พาเสค(เรียกทับศัพท์)1 พาเสค มีค่าเท่ากับ 3.26156 ปีแสง(3.08568 X 10ยกกำลัง13 กม.)

6. CAT หรือ Catalogues คือ ชื่อเรียกวัตถุหรือดวงดาว ในHipparcos catalogue

7. Spectral Type คือ การแบ่งกลุ่มของดาวฤกษ์โดยดูจากสีเส้นสเปกตรัมของดาวฤกษ์แต่ละดวง เมื่อใช้เครื่องแยกแสง หรือเครื่องสเปกโทรกราฟ (Spectrograph)ผ่านกล้องดูดาว

ชนิด     อุณหภูมิพื้นผิว(Kหรือเคลวิน)         สีของดาว
O            28,000ถึง50,000               น้ำเงิน(Blue)
B            10,000ถึง28,000               น้ำเงิน-ขาว(Blue-white)
A             7,500ถึง10,000                ขาว-น้ำเงิน(White-blue)
F              6,000ถึง7,500                 เหลือง-ขาว(Yellow-white)
G              4,900ถึง6,000                 เหลือง(Yellow)
K              3,500ถึง4,900                 ส้ม(Orange)
M              2,000ถึง3,500                 แดง(Red)
จากรูปที่ 2 หน้าตาโปรแกรม นั้น สังเกต มุมซ้ายล่าง จะมีปุ่มกด ดังนี้ (เรียงจากซ้ายไปขวา)

1. Constellations กด เปิด/ปิด เพื่อแสดงเส้นเชื่อมต่อของดวงดาวในกลุ่มดาวนั้นๆ
2. Constellation Name กด เปิด/ปิด เพื่อแสดง ชื่อของกลุ่มดาว
3. Constellation Art กด เปิด/ปิด เพื่อแสดง รูปภาพของกลุ่มดาว 
4. Azimuth Grid กด เปิด/ปิด เพื่อแสดงเส้นพิกัดในระบบ Alt/Azi
5. Equatorial Grid กด เปิด/ปิด เพื่อแสดงเส้นพิกัดในระบบ RA/Dec
6. Toggle Ground กด เปิด/ปิด เพื่อแสดงพื้นดิน
7. Toggle Cardinal Points กด เปิด/ปิด เพื่อแสดง จุดบอกทิศ
8. Toggle Atmosphere กด เปิด/ปิด เพื่อแสดง ชั้นบรรยากาศ (หากต้องการเห็นดาวในเวลากลางวันให้กดใช้)
9. Nebulae & Galaxies กด เปิด/ปิด เพื่อแสดงตำแหน่ง Nebulae และ Galaxies
10. Coordinate System กด เปิด/ปิด เพื่อใช้เลือกมุมมองตามแบบ ระบบพิกัดระหว่าง Alt/Azi และ RA/Dec
11. Goto ใช้ในการแสดงวัตถุที่เลือกให้อยู่กลางจอภาพของโปรแกรม
12. Search ใช้ค้นหาวัตถุ
13. Configuration ใช้ในการเปิดหน้าต่างตั้งค่า
14. Night Mode กด เปิด/ปิด เพื่อใช้เปลี่ยนสีหน้าตาโปรแกรม ให้เป็นสีโทนแดง เช่น ใช้ในกรณี ยกNotebook ไปดูดาว โดยใช้โปรแกรมนี้ช่วย เพื่อช่วยในการมองเห็นในที่มืด(เป็นการปรับแสงในโปรแกรมให้ดวงตาคนไม่เสีย เวลาปรับตัวนานเกินไปในการมองเห็นในความมืด)

15. Help ใช้แสดงหน้าต่างช่วยเหลือของโปรแกรม
16. Off ใช้ปิดโปรแกรม stellarium

ด้านขวาล่าง
1. ใช้ถอยหลังไปเวลาก่อนหน้านี้ (กดหลายครั้งเพื่อเร่งความเร็ว)
2. ใช้เดินหน้าเวลา ในความเร็วปกติ
3. ใช้เร่งเดินหน้าเวลาหลังจากปัจจุบัน (กดหลายครั้งเพื่อเร่งความเร็ว)
4. ใช้กลับมา ในวันเวลา ปัจจุบัน

อ้างจาก :
Tip! วัตถุท้องฟ้าบางอย่าง คุณสามารถใช้wheelmouse หมุน Zoom เข้าไปดูรายละเอียดได้

ขอขอบคุณ
http://www.stellarium.org 

PR:7 PageRank #7 out of 10
 
http://www.astroschool.in.th/public/teache...dex_ans_inc.php 
PR:0 PageRank #0 out of 10
 
http://www.darasart.com/astrovocab/a.html 
PR:4 PageRank #4 out of 10
 
http://thaiastro.nectec.or.th/ency/ 
PR:5 PageRank #5 out of 10

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น